ผลิตภัณฑ์ของ“SMART GREEN 101”เป็นเครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติที่เหมาะสำหรับใช้กับสนามหญ้าที่บ้าน สวนหย่อม ต้นไม้กระถาง โรงเพาะเห็ด ฟาร์มผักorganic พืชสวนเกษตรอินทรีย์ แปลงผักไฮโดรไพนิกและอื่นๆอีกมากมาย จำหน่ายและให้คำแนะนำเกี่ยวกับเครื่องตั้งเวลารดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ
วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559
เทอร์โมมิเตอร์ทำงานอย่างไร
"เทอร์โมมิเตอร์"เป็นเครื่องมือสำหรับใช้วัดอุณหภูมิและความร้อน โดยอาศัยหลักการขยายตัวของของเหลวเมื่อได้รับความร้อน และหดตัวเมื่อคายความร้อน ของเหลวที่ใช้บรรจุในกระเปาะแก้วก็คือปรอท เมื่อปรอทได้รับความร้อนจะขยายตัวขึ้นไปตามหลอดแก้วเล็กๆ และจะหดตัวเมื่ออุณหภูมิลดลง
การอ่านเทอร์โมมิเตอร์
ต้องให้ระดับของเหลวอยู่ในระดับสายตา ให้อ่านตัวเลขบริเวณฐานของส่วนนูน
เทอร์โมมิเตอร์มีหลายแบบถ้าเป็นเทอรืโมมิเตอร์แบบเซลเซียส ค่าที่วัดได้มีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส(C)
ถ้าเป็นเทอร์โมมิเตอร์แบบฟาเรนไฮต์ ค่าที่วัดได้จะมีหน่วยเป็นองศาฟาเรนไฮต์(F)
เทอร์โมมิเตอร์นั้นเป็นหนึ่งอุปกรณ์ที่คุณแม่ทั้งหลายควรจะมีติดบ้านเอาไว้ เนื่องจากจากการวัดอุณหภูมิของร่างกายจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่คุณแม่สามารถตรวจสอบด้วยตัวเองเมื่อมีสิ่งผิดปกติขึ้นกับลูกน้อย หากลูกน้อยมีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า37.5-38องศาเซลเซียส นั้นถือว่าเป็นไข้เด็ก ซึ่งอาจมีอาการชักได้
แล้วเราจะรดน้ำแบบไหนกันดี?
เป็นการรดน้ำแบบพื้นฐานดั่ง เดิมมากๆ ซึ่งการใช้งานเราจะเลือกในพื้นที่ขนาดเล็ก เช่น คอนโด อะพาร์ทเมนต์ มุมระเบียง เป็นต้น ซึ่งมุมเล็กเหล่านี้จะเหมาะกับการใช้สายยางมากกว่า เพราะติดตั้งก็ง่ายๆ เพียงแค่ติดตั้งท่อน้ำจากท่อน้ำหลักจากนั้น ติดบอลวาล์วเพื่อเปิด-ปิดน้ำ และนำสายยางมาติดกับก๊อกน้ำ ควรติดที่แขวนสายยางไว้ด้วยเพื่อง่ายต่อการจัดเก็บและกระชับพื้นที่
ข้อดีของการใช้สายยางรดน้ำ คือ ต้นไม้ ได้น้ำในปริมาณที่เหมาะสมตามชนิดของต้นไม้และวัสดุปลูก แต่วิธีนี้ควรต่อฉีดหัวบัวหรือหัวฉีดพ่นฝอยแทนการบีบปลายสายยาง เพื่อให้แรงดันน้ำสม่ำเสมอ ไม่เป็นอันตรายต่อต้นไม้ เจ้าของบ้านสามารถทำได้เอง
ระบบนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ สวนขนาดใหญ่หรือคนที่อยากจะประหยัดเวลาในการรดน้ำต้นไม้ ส่วนการที่เราจะติดตั้งนั้นก็ทำได้โดยเรามีอุปกรณ์ดังนี้คือ เครื่องปั๊มน้ำ เครื่องตั้งเวลาอัตโนมัติ ข้อต่อ ท่อ PVC และสปริงเกลอร์ส่วนหัวของสปริงเกลอร์นั้น ถ้าพื้นที่เล็กกว้างไม่เกิน 1-2 เมตร แนะนำให้เป็นแบบมินิสปริงเกลอร์เพราะเหมาะกับสวนพุ่ม สวนหย่อมแต่ถ้าเป็นพื้นที่สนามหญ้าขนาดใหญ่ ต้องการฝังสปริงเกลอร์ลงใต้ดิน ก็นำแนะนำ หัวแบบป๊อปอัพ ส่วนวัสดุที่ของหัวสปริงเกลอร์ก็แล้วแต่เราจะเลือก จะเป็นแบบโลหะ หรือพลาสติกก็ได้แล้วแต่ผู้ใช้ส่วนจะตั้งระยะให้น้ำไปไกลแค่ไหนก็ขึ้นอยู่ กับพลังแรงม้าเครื่องปั๊มน้ำและระยะที่เรากำหนดแล้ว
ข้อดีของการรดน้ำแบบสปริงเกอร์ คือ การให้น้ำระบบนี้จะช่วยเพิ่มความชื้นในอากาศบริเวณที่ปลูกต้นไม้ได้ และสามารถช่วยลดอุณหภูมิในบริเวณที่เราปลูกต้นไม้ได้ เหมาะสำหรับเจ้าของบ้านที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแล ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่วัยทำงานได้เป็นอย่างดี แต่การใช้สปริงเกลอร์ก็มีข้อควรคำนึงอยู่บ้างคืออาจทำให้พื้นที่บางจุดอาจ รับน้ำไม่ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากการให้น้ำระบบนี้จะค่อนข้างสม่ำเสมอกันทั้งพื้นที่ จึงไม่เหมาะสมสำหรับกรณีปลูกต้นไม้ที่มีความต้องการน้ำแตกต่างกัน โดยเฉพาะถ้าต้นไม้มีขนาดทรง ความหนาแน่น พุ่มต่างกัน เพราะขนาดและความหนาแน่นทรงพุ่มจะมีผลโดยตรงต่อปริมาณน้ำที่ระบบรากจะได้รับ
น้ำกับการดำรงชีวิตของพืช
น้ำมีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตของพืช เนื่องจากเป็นโมเลกุลที่มีมากที่สุดภายในต้นพืช การเกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ต้องอาศัยน้ำทั้งสิ้น เพราะน้ำทำหน้าที่เป็นตัวกลาง นอกจากนี้การดูดอาหารในดิน การเคลื่อนที่ของอาหารภายในต้นก็อาศัยน้ำเป็นตัวนำ ความเต่งของเซลล์ยังทำให้พืชต่างๆ สามารถตั้งตัวอยู่ได้เนื่องจากน้ำทำให้เซลล์เต่งและน้ำยังเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ เนื่องจากน้ำสามารถรับความร้อนต่อหน่วยได้สูง บทบาทของน้ำสรุปได้ดังนี้
1. น้ำเป็นส่วนประกอบภายในต้นพืชถึง 85-90 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของเมล็ดแห้งและ
สปอร์ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
สปอร์ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์
2. น้ำสามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่เนื่องจากความสามารถรับความร้อน(heat capacity) สูง
มี ความสามารถรับความร้อนที่ทำให้เป็นไอ (heat of vaporization) สูง และมีความสามารถใน การนำความร้อนสูง (thermal conductivity)
มี ความสามารถรับความร้อนที่ทำให้เป็นไอ (heat of vaporization) สูง และมีความสามารถใน การนำความร้อนสูง (thermal conductivity)
3. น้ำเป็นตัวทำละลายสำหรับสารต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดปฏิกิริยากันได้
4. น้ำเป็นตัวพยุงให้พืชตั้งตัวอยู่ได้
5. น้ำเป็นแหล่งของก๊าซออกซิเจนและไฮโดรเจน ซึ่งก๊าซออกซิเจนก็ถูกนำไปใช้ในการหายใจ และก๊าซ ไฮโดรเจนก็ถูกนำไปใช้ในการสังเคราะห์แสง น้ำเป็นแหล่งที่ใช้ในการผลิต ATP จากกระบวนการ สังเคราะห์แสง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)