SMART GREEN 101 เครื่องตั้งเวลารดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ
ผลิตภัณฑ์ของ“SMART GREEN 101”เป็นเครื่องรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติที่เหมาะสำหรับใช้กับสนามหญ้าที่บ้าน สวนหย่อม ต้นไม้กระถาง โรงเพาะเห็ด ฟาร์มผักorganic พืชสวนเกษตรอินทรีย์ แปลงผักไฮโดรไพนิกและอื่นๆอีกมากมาย จำหน่ายและให้คำแนะนำเกี่ยวกับเครื่องตั้งเวลารดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ
วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560
วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559
วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559
น้ำหมักชีวภาพเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร
น้ำหมักชีวภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพ เป็นสารละลายเข้มข้นได้จากการหมักซากพืชซากสัตว์ ซึ่งผ่านกระบวนการแล้วจะได้สารละลายเข้มข้นสีน้ำตาล เศษอาหารเป็นขยะหรือของเสียจากครัวเรือน ซึ่งคนส่วนใหญ่จะละเลยคุณค่าไม่มีใครเหลียวแล เพราะเพียงแค่ทิ้งไว้ข้ามคืนก็จะส่งกลิ่นเหไม้นรัญจวนใจได้ทีเดียว เราน่าจะร่วมกันนำเศษอาหารมาทำน้ำหมักชีวภาพสำหรับใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันกัน
จุดประสงค์ของการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร ทั้งนี้มีเทคนิคแนะนำว่าหากต้องการบำรุงพืชในส่วนใบก็ให้ใช้ส่วนใบพืชมาหมัก หากต้องการบำรุงผลก็ให้ใช้ส่วนผล เช่นกล้วยสุก มะละกอสุก เปลือกสัปรด หรือหากต้องการกำจัดศัตรูพืชควรหมักด้วยสะเดา ตะไคร้หอม ข่า
น้ำหมักชีวภาพสามารถนำประโยชน์ในการซักล้างได้ โดยมีสูตรให้นำเปลือกผลไม้ เช่น ส้มป่อย มะคำดีควาย มะนาว หมักกับกากน้ำตาลทิ้งไว้ซักระยะก็จะได้น้ำหมักชีวภาพที่สามารถนำมาซักผ้าได้
-ด้านการเกษตร น้ำหมักชีวภาพมีประโยชน์มากมายเพราะมีธาตุอาหารดดยรวมอยู่ในปุ๋ยน้ำหมัก จึงสามารถนำไปเป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มคุณภาพผลผลิตให้ดีขึ้น
-ด้านการประมง น้ำหมักชีวภาพจะช่วยควบคุมสภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ช่วยกำจัดพยาธิ ช่วยรักษาโรคแผลต่างๆในปลา กบ ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ
-ด้านปศุสัตว์ ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นน้ำเสียจากฟาร์มสัตว์เลี้ยง ป้องกันดรคระบาดต่างๆ
-ด้านสิ่งแวดล้อม น้ำหมักชีวภาพจะช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นกองขยะ ปรับสภาพอากาศเสียให้ดีขึ้น
การเก็บรักษาน้ำหมักชีวภาพ เราควรเก็บรักษาน้ำหมักชีวภาพไว้ที่อุณหภูมิปกติ ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป
การทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เอง
วัสดุอุปกรณ์ในการทำน้ำหมัก
1.เศษพืชผักผลไม้ เศษอาหารที่ยังไม่เน่า
2.ถังน้ำหมัก
3.กากน้ำตาล
วิธีทำน้ำหมัก
1.นำวัสถุดิบที่เป็นเศษซากพืชต่างๆเศษอาหารมาบดสับให้ละเอียดเป็นชิ้นเล็กๆ
2.นำเศษซากพืชต่างๆเศษอาหารมาในลงในถังที่จะใช้ทำน้ำหมัก
3.เติมกากน้ำตาลลงไปในถังหมักให้ได้สัดส่วน
4.คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาถังน้ำหมักทิ้งไว้7-15วัน
5.หากมีกลิ่นเหม็นให้เติมกากน้ำตาลเพิ่มเข้าไปแล้วคนให้เข้ากัน
เคล็ดลับการทำน้ำหมักให้ได้ผลดี
1.เลือกใช้เศษพืชผักผลไม้ที่ยังไม่บูดเน่าสับบดให้ละเอียด ปิดฝาภาชนะทิ้งไว้จนได้น้ำหมักชีวภาพจากนั้นกรอกใส่ขวดปิดฝาทิ้งไว้รอใช้งาน
2.ในระหว่างการหมักห้ามปิดฝาภาชนะจนแน่นสนิทเพราะอาจทำให้ระเบิดได้ เพราะการหมักจะเกิดก็าซต่างๆขึ้น
การนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้งาน
ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพมีค่าความเข้มของสารละลายสูงและเป็นกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง3.6-4.5 ก่อนนำไปใช้กับพืชควรปรับสภาพให้เป็นกลางก่อนโดยใส่ฟอสเฟต ปูนไดโลไมล์ ปูนขาว อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา50กก.ต่อน้ำหมัก100ลิตร ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจะมีประสิทธิภาพสูงสุดต้องใช้เวลาในการหมักจนแน่ใจว่าจุลินทรีย์ย่อยสลายสมบูรณ์ ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพจะมีธาตุอาหารเกือบทุกชนิด แต่มีในปริมาณต่ำควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักแห้ง
smartgreen101.lnwshop.com
https://www.facebook.com/smartgreen101
084-5197722
line id: money_express
วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559
การใช้ปุ๋ยร่วมกับการให้น้ำแก่พืช
การให้ปุ่ยร่วมกับน้ำแก่พืช หมายถึง การใส่ปุ๋ยเคมีที่สามารถละลายน้ำได้รวมกับน้ำให้แก่พืชเพื่อให้พืชได้รับปุ๋ยรวมกับน้ำ ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีดังนี้
1.เป็นการแบ่งใส่ปุ๋ยทีละน้อยจึงมีประสิทธิภาพสูง การสิ้นเปลืองน้อย
2.ประหยัดแรงงานในการให้ปุ๋ยโดยการหว่าน
3.การกระจายของปุ๋ยสม่ำเสมอ
4.สามารถควบคุมการกระจายของปุ๋ยได้ดี
5.สามารถกำหนดปุ๋ยที่ให้แก่พืชได้ตามการเจริญเติบโตงอกงาม
การให้ปุ๋ยจะได้ผลดีเมื่อเลือกใช้ระบบน้ำแบบหยดและระบบฉีดฝอย สำหรับการจ่ายน้ำแบบฉีดฝอย ปุ๋ยจะครอบคลุมพื้นที่ได้ดีกว่าการให้น้ำแบบหยด สำหรับปุ๋ยบางประเภทเมื่อทำละลายกับน้ำแล้วปุ๋ยจะตกตะกอนซึ่งมีผลเสียคือต้องต้องมีการล้างอุปกรณ์กรองบ่อยขึ้นกว่าเดิม จึงควรทดสอบว่าปุ๋ยที่จะนำเข้ามาใช้ร่วมกันมีปัญหาการตกตะกอนหรือไม่
อัตราปุ๋ยที่จะใช้ขึ้นอยู่กับปัจจัย2ประการคือ
1.ปัจจัยด้านดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน และธาตุอาหารที่จะให้กับดินควรเหมาะสมกัน
2.ปจจัยด้านพืช เช่น ชนิด ขนาด ของพืช ปริมาณผลผลิตที่จะเก็บเกี่ยวในแต่ฤดูกาล
เพื่อป้องกันไม่ให้รากพืชเป็นอันตรายเนื่องจากการให้ปุ๋ยที่มีความเข้มข้นสูงเกินไป ดังนั้นปริมาณการผสมปุ๋ยกับน้ำควรคำนึงถึงสัดส่วนการผสมเป็นสำคัญ การกำหนดแผนการใช้ปุ๋ยร่วมกับน้ำแก่พืชต้องพิจารณาปัจจัยหลัก คือ ชนิดของดิน ปริมาณธาตุอาหาร ปริมาณน้ำที่จะให้ในแต่ละครั้ง
การให้ปุ๋ยในระบบน้ำไม่ได้หมายความว่า ต้องให้ปุ๋ยทุกตัวกับระบบน้ำเสมอไป อาจให้เฉพาะโปรแตสเซี่ยมและไนโตรเจนพร้อมระบบน้ำ แต่ให้ฟอสฟอรัสทางดินก็ได้ เนื่องจากปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ละลายน้ำมีราคาแพง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)